วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

อนุทินที่ 8

สอบปลายภาค

1. คำว่า จรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม จารีตประเพณี  กฎหมาย ให้นักศึกษาให้คำนิยาม และสรุปว่าคำเหล่านี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตอบ   
         จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
         จริยธรรม หมายถึง  ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
         คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี
         ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนดการกระทำของตนเอง
         จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว
         กฎหมาย หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
(ที่มา : พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)

         จากความหมายข้างต้น คำที่มีความเหมือนกัน คือ จริยธรรม และคุณธรรม เพราะว่าสองคำนี้ เป็นคำที่กล่าวถึงการปฎิบัติคุณงามความดี ซึ่งเป็นข้อปฎิบัติ และเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำ
         อีกทั้ง จรรยาบรรณ ค่านิยม จารีตประเพณี ก็ยังเหมือนกันในด้านของความประพฤติที่ปฎิบัติกันมายาวนาน จนเกิดเป็นเรื่องปกติธรมดา โดยถือเป็นกฎหรือข้อปฎิบัติ ถ้ามีใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นคนไม่ดี แต่อาจไม่ได้รับบทลงโทษ
         สุดท้าย กฎหมาย เป็นคำที่บ่งบอกถึงกฎเกณฑ์ ที่จะต้องปฏิบัติตาม และจะต้องรับรู้ ถ้าหากฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติตาม ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไม่ดี คนชั่ว อีกทั้งจะต้องได้รับบทลงโทษด้วย

2. ในสังคมทุกวันนี้ กฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทต่อมนุษย์อย่างไร หากไม่มีจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีกฎหมายจริงหรือที่ว่าสามารถใช้บังคับได้ สังคมทุกวันนี้สงบตามที่นักฎหมายได้บัญญัติขึ้น จงให้เหตุผลยกตัวอย่าง

ตอบ
          ในสังคมทุกวันนี้ กฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทต่อมนุษย์ คือ กฎหมายนั้นมีอยู่คู่กับสังคมตั้งแต่ไหนแต่ไร จนกล่าวกันว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” (Ubi societas ibi jus) เพราะเมื่อคนมาอยู่รวมเป็นสังคมประโยชน์และความต้องการของแต่ละคนอาจขัดแย้ง กันได้ ซึ่งกฎหมายจะเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการควบคุมสังคม (social controls) โดยเป็นกติกาเพื่อชี้ขาดความถูกต้องที่สังคมยอมรับในการใฝ่หาความเป็นธรรม อันเป็นจุดสมดุล (equilibrium) ระหว่างประโยชน์ของเอกชนแต่ละคนในแต่ละเรื่องหรือระหว่างเอกชนกับส่วนรวม
          หากไม่มีกฎหมาย ก็จะให้สังคมนั้นๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ เกิดการทะเลาะวิวาท และส่งผลต่อสังคมในภาพรวมด้วย
          ถ้ามีกฎหมายจริงหรือที่ว่าสามารถใช้บังคับได้ สังคมทุกวันนี้สงบตามที่นักฎหมายได้บัญญัติขึ้น คือ ในกรณีนี้ก็มีจริงบ้างบางส่วน โดยส่วนที่จริงนั้น เราจะเห็นได้จากการลงโทษกับผู้กระทำผิดในข่าวสารทั่วไป ส่วนที่ไม่จริง ก็เห็นได้จากข่าวที่ครูฝึกซ้อมทหารเกณฑ์จนตาย แต่ตอนนี้ยังไม่มีข่าวคืบหน้าอะไรเลย

3. พระราชบัญญัติการศึกษา มีหลักในการจัดการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาทำได้อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ
          พระราชบัญญัติการศึกษา ในหมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23 และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ


          มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
          มาตรา 22 ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"

          มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
          (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
          (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
          (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
          (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
          มาตรา 23 กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของเนื้อหาสาระของหลักสูตรโดยทั่วไปแต่อาจจะเน้นมาทางหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานมากหน่อย  โดยเฉพาะการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็น 5 กลุ่ม ตามวรรคหนึ่งถึงวรรคห้าของมาตรา 23
          ในข้อเท็จจริง การกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรจะต้องพิจารณาระดับการศึกษา ประเภทของการศึกษา และความถนัดส่วนบุคคลมาประกอบด้วย การศึกษาระดับที่สูงขึ้นไปย่อมจัดหลักสูตรที่เน้นสาขาวิชาและสาขาวิชาเฉพาะมากยิ่งขึ้น  แต่ถ้าเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า หลักสูตรแกนกลางที่เน้นตัวร่วมหรือค่านิยมร่วม (Core Values)  ระดับชาติ และจะต้องมีหลักสูตรที่สะท้อนปัญหา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นด้วย
          มาตรา 23 จึงเป็นการวางหลักการทั่วไป ส่วนความแตกต่างในแต่ละระดับจะนำไปกล่าวไว้ในมาตรา 27

          มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
          (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
          (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
          (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
          (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
          (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
          (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
          มาตรา 24 กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ หรือเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา

          มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
          มาตรานี้จะช่วยส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต  ซึ่งรวมความถึงการศึกษาต่อเนื่องในความหมายเดิมของระบบการศึกษานอกโรงเรียน ฉะนั้น การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ (ต่อเนื่อง) จึงกระทำได้ในชุมชนต่างๆ 

          มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
          ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

          มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
          ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
          มาตรา 27 กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำหลักสูตรไว้เป็น 2 ระดับ  ระดับชาติให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง  ส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
          การจัดทำหลักสูตรของสองส่วนนี้  เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน  การสอนหลักวิชาตามหลักสูตรแกนกลางนั้นสามารถนำเอาเนื้อหาสาระของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบได้เสมอ  ไม่ว่าจะเป็น วิชาประวัติศาสตร์ ที่มุ่งหมายให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมาของชุมชนของตนเอง และของชาติ  หรือการสอนวิชาชีพก็จะสามารถนำข้อมูลอาชีพในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบของการเรียนการสอน
          จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง "เพื่อความเป็นไทย" นั้น ก็หมายถึงความเป็นไทยในลักษณะที่มีเอกลักษณ์จากชาติอื่น  ฉะนั้น ความเป็นไทยในความหมายนี้รวมถึงวัฒธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกๆ แห่งที่ปรากฎในอาณาจักรไทยปัจจุบัน

          มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
          สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
          สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษระในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ  วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
          มาตรา 28 กล่าวถึงหลักสูตรระดับต่างๆ ต้องมีลักษณะหลากหลายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความสมดุลตามวรรคสอง และหลักสูตรอุดมศึกษา ต้องมีลักษณะตามวรรคสาม

          มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน

          มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

4. ในฐานะที่นักศึกษาทุกคนทราบว่าประเทศไทยขณะนี้อยู่ในช่วงปฏิวัติ นักศึกษาคิดว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาหตุอย่างไร วิธีการที่คณะรัฐบาลทหารแก้ไขอยู่นี้น่าจะดีหรือไม่ดีจงให้เหตุผลและอธิบาย

ตอบ
           กระทรวงศึกษาธิการมีเหตุผลและความจำเป็น 4 ประการ ที่ทำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในกรณีนี้ คือ


         1. การบูรณาการงานระดับพื้นที่
                รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารจัดการแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคนั้น จะพบว่ามีปัญหาเรื่องการบูรณาการในการดำเนินงานของระดับพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนในระดับเดียวกัน ภายในจังหวัดเดียวกันก็ยังไม่เชื่อมโยง อีกทั้งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จะหลุดวงโคจรจากการบริหารจัดการโดยสิ้นเชิง เนื่องจากต่างคนต่างบริหารจัดการ แม้ว่าทุกหน่วยงานจะได้รับแนวทางและนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการไปดำเนินการ แต่เมื่อถึงเวลาดำเนินการจริงจะไม่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดหนึ่ง อาจจะมีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเขตก็จะไม่ได้หารือกัน ทำให้ยากต่อการบูรณาการระดับพื้นที่
 
             ในส่วนของโครงสร้างการบริหารจัดการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคแบบใหม่ตามคำสั่ง คสช. นั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและมีผู้บริหารองค์กรหลักเป็นกรรมการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ด้วยการบริหารจัดการตรงไปที่สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ 1-18 กล่าวคือ จะทำการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคขึ้นมา 18 คน และจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด เพื่อดูแลการศึกษาทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาปฐมวัย, สถานศึกษา กศน., สถานศึกษาอาชีวศึกษา, สถานศึกษาการศึกษาพิเศษ, สถานศึกษาเอกชน เป็นต้น รวมทั้งโรงเรียนในสังกัด อปท., กทม., ตชด. ด้วย ทำให้ขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ในขณะที่โครงสร้างแบบเดิมดำเนินการในส่วนนี้ได้ยาก

 

            2. ช่วงการบังคับบัญชากว้าง
                  อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรับโครงสร้าง คือ การที่มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง กล่าวคือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องกำกับดูแลผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 225 คน เทียบอัตราส่วน 1 ต่อ 225  ส่วนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็มีภาระหนักขึ้น เนื่องจากมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนรวมกันถึง 886 แห่ง ซึ่งโครงสร้างใหม่จะทำให้สัดส่วนในการกำกับดูแลน้อยลง ด้วยการที่ รมว.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จากนั้นสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จะกำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ต่างจากแบบเดิมที่คุมคนเยอะ ทำให้ดูแลกันไม่ทั่วถึง
 
 
              3. เพิ่มความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา
                  นอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงสร้างแบบเดิมพบว่า ทั้ง สพฐ.และ สำนักงาน ก.ค.ศ. ต่างคนต่างดำเนินการไม่บูรณาการซึ่งกันและกัน โดย สพฐ. ทำหน้าที่ดูแลศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.) ส่วน สำนักงาน ก.ค.ศ.จะกำกับดูแล อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ที่มีอำนาจดูแลเรื่องการบริหารงานบุคคล โครงสร้างแบบใหม่จะยุบ กพท. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ แต่ สพฐ. จะยังคงทำหน้าที่ประเมินผลและนิเทศเช่นเดิม ตลอดจนเรื่องการจัดสรรงบประมาณและงานบริหารทั่วไป ส่วนการบริหารงานวิชาการจะเข้าบอร์ดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ดูในภาพรวม ดังนั้น ทั้ง 2 ส่วนงานที่ถูกยุบไปไม่ได้หายไปไหน แต่ย้ายไปอยู่บอร์ดใหญ่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
 
              4. ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล
                   ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการพบปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล 4 ประการ ได้แก่ การเกลี่ยครูหรือเปลี่ยนครูข้ามเขต, การบรรจุครูใหม่ในแต่ละเขต, การคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน และการดำเนินการทางวินัย ปัญหาดังกล่าวที่ดำเนินการโดยโครงสร้างเดิมนั้นไม่ทันต่อเวลา
               จึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ที่จะทำในรูปแบบของจังหวัด ซึ่งจะพิจารณาได้ในขอบข่ายที่กว้างขึ้น เช่น การเปลี่ยนครูในโรงเรียนที่ขาดก็จะทำได้ดีขึ้น การบรรจุครูใหม่ก็เช่นเดียวกัน ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนก็มีตัวเลือกที่จะสามารถหมุนเวียนได้มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
 

                  จากเหตุผลและความจำเป็น 4 ประการข้างต้น วิธีการที่คณะรัฐบาลทหารแก้ไขอยู่นี้น่าจะดี เพราะ การศึกษาของประเทศจะได้มีการบริหารงานทั่วถึง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ กศจ. และยังมีบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานทุกอาชีพมาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ และสามารถแก้ไขปัญหาในด้านของการทุจริตระดับเขตพื้นที่อีกด้วย

5. ความเคลื่อนไหวทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศมีการปฏิรูปขึ้น หากหน่วยงานทางการศึกษา เช่น เขตพื้นที่ประถมศึกษา เขตพื้นที่มัธยมศึกษา มีการยุบ และได้มีการนำสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่จังหวัดในรูปแบบองค์คณะบุคคล เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรจงอธิบาย

ตอบ
          มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
          ในส่วนที่เห็นด้วย ในเรื่องของการบริหาร สามารถกระจายอำนาจไปสู่จังหวัดได้ และสามารถควบคุมการทุจริตในการทำงานได้ โดยการปรับโครงสร้างใหม่นี้ ก็จะทำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ขึ้นตรงต่อหน่วยงานเดียวกัน นั่นก็คือ สำงานธิการภาค 1-18 ซึ่งแยกการบังคับบัญชาออกตามพื้นที่ภูมิภาค และสำงานธิการภาค 1-18 ก็ขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง
          ในส่วนที่ไม่เห็นด้วย ก็จริงอยู่ที่โครงสร้างใหม่นี้มีการกระจายอำนาจให้กับทุกจังหวัด แต่ในสภาพที่เป็นจริง การบริหารงานของ กศจ. ที่จะต้องดูแลโรงเรียนในจังหวัดของตนเองนั้น ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ย่อมส่งผลให้การบริหารงานไม่ทั่วถึง เปรียบเสมือนกับ ครูผู้สอนที่สอนในชั้นเรียนที่มีเด็ก 50 คน ก็ย่อมไม่สามารถสอนให้เด็กให้เข้าใจได้อย่างทั่วถึง

6. ในฐานะที่นักศึกษาจะลงไปฝึกสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชากฎหมายนี้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างที่นักศึกษาคิดว่านำไปปฏิบัติกับตัวนักศึกษาและนักเรียนได้ ยกตัวอย่างอธิบายพร้อมเหตุผลทำไมจึงทำเช่นนั้น

ตอบ
          สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้คือ ในการทำงานของสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยกฎหมายในการทำงาน ทั้งในเรื่อง การดูแลเด็กนักเรียน การทำงานร่วมกับครู การวางตัวกับเด็ก ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาก็ได้แก่
         1. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
         2. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
         3. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
         4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎกระทรวง
         5. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
         6. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
         7. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม
          8. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู: วินัยและการรักษาวินัย, คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม, มาตรฐานวิชาชีพ, จรรยาบรรณวิชาชีพ, และสมรรถนะวิชาชีพ
          9. กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พึงทราบ เช่น
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเวลาทางานและวันหยุดราชกสนของสถานศึกษา พ.ศ.2547
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
               - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
         10. ทฤษฎีและรูปแบบระบบการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การออกแบบและการวางแผน การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การนาแผนไปสู่การปฏิบัติ

         11. ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา และบทสรุปการนาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้

7. คำว่าการประกันคุณภาพมีความหมายอย่างไร มีหลักการประกันอย่างไร ถ้าหน่วยงานของต้นสังกัดลงมือทำเองเรียกว่าอะไร เข้ามีวิธีการทำอย่างไร หากนอกสังกัดเขาลงมือทำเขาเรียกว่าอะไร มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร (ให้ตอบเฉพาะของการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

ตอบ
          การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดาเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
         หลักการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่
           1. การสร้างความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา
           2. การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
           3. การตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
           4. การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
           5. การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน
           6. การสร้างความรู้ ทักษะและความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
           7. การประสานสัมพันธ์ในองค์กร บุคลากรในพื้นที่
           8. การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร
       หน่วยงานของต้นสังกัดลงมือทำเอง เรียกว่า "การประกันคุณภาพภายใน" เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงาน ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
       นอกสังกัดเขาลงมือทำเขาเรียกว่า "การประเมินคุณภาพภายนอก" จะใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานต่างๆ ในการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยมสถาบัน ซึ่งในการประเมินต้องคำนึงถึงปรัชญา พันธกิจ และลักษณะการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาจะต้องมีการจัดทำรายงานประจำปี เตรียมเอกสาร ข้อมูลในด้านต่างๆ รวมถึงข้อมูลตามตัวบ่งชี้ และรายงานการประเมินตนเองอย่างน้อย ๓ ปีการศึกษา โดยสามารถจัดทำในรูปแบบ CD – ROM หรือ E - SAR (Electronic Self Assessment Report) เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ต่อไป

8. ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูมืออาชีพท่านจะต้องนำวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ตั้งแต่เรื่องการจัดการเรียนการสอน ชุมชน การดูแลนักเรียน ขอให้ตอบโดยนำหลักคิดมาประยุกต์ใช้

ตอบ
          การจัดการเรียนการสอน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ นำกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก มาประยุกต์ใช้ โดยไม่ไปฝ่าฝืนเด็กตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เช่น ลงโทษเด็กจนเกินเหตุ ชู้สาว เป็นต้น
          ชุมชน ก็นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครนักเรียนเข้าสถานศึกษา โดยไปประสานกับผู้ปกครองให้รับทราบถึงกฎ ข้อระเบียบ เกณฑ์ ในการเข้ารับการศึกษาต่างๆ โดยทำความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง
          การดูแลนักเรียน ก็นำกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับของเด็กนักเรียน โดยจะให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ และเท่าเทียมกันทุกคน

9. วิชานี้ท่านคิดว่าเรียนไปแล้วมีประโยชน์หรือไม่ ถ้านักศึกษาไม่ได้เรียนก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูน่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โปรดยกตัวอย่างประกอบการอธิบายและเมื่อได้เรียนแล้วจะได้ระมัดระวังอย่างไร

ตอบ
          วิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษามีประโยชน์
          ถ้าไม่ได้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อตนเอง นั่นคือ เวลาไปทำอะไรที่โรงเรียน โดยทำไปไม่รู้ข้อกฎหมาย ก็อาจจะทำให้เราได้รับผลกระทบตามมาได้มากมาย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เรียนไม่จบ ไม่สามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้
          ตัวอย่างเช่น ในกรณีของนักศึกษาผู้ชาย ไปคบหากับนักเรียนผู้หญิง ก็มีความผิดในวินัยของครู ต้องได้รับโทษทั้งทางอาญา และทางแพ่ง ซึ่งจะทำให้ไม่มีอนาคต เรียนไม่จบ ไม่สารถสอบบรรจุครูได้
          จากการที่ได้เรียนวิชานี้ ก็จะนำกฎหมายที่ได้เรียนมาทั้งหมด นำไปปฎิบัติ และระมัดระวังตัวใให้มากที่สุด และจะระลึกอยู่เสมอว่า คนเป็นครู ต้องรู้กฎหมายอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะทำงานและวางตัวได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

10. การสอนแบบใช้เทคโนโลยีเว็บบล็อกผสมผสานกับรายงานของนักศึกษา นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่อย่างไรจงแสดงความคิดเห็นตามแนวคิดของนักศึกษา

ตอบ
         การสอนแบบใช้เทคโนโลยีเว็บบล็อกผสมผสานกับรายงานมีทั้งประโยชน์และโทษ
         ในส่วนของประโยชน์ คือ นักศึกษาสามารถหาความรู้ได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดความรู้เฉพาะในห้องเรียน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ พบเห็นแนวคิดใหม่ๆ อยุ่ตลอดเวลา
         ในส่วนของโทษนั้น คือ นักศึกษามีการคัดลอกงานกัน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า นักศึกษาครู ไม่มีจรรยาบรรณความเป็นครู อาจจะส่งผลต่อเด็กนักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติต่อไป

อนุทินที่ 7

แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559)

1. จงบอกสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างและท่านมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร

   ตอบ สภาพปัญหาของสังคมไทยปัจจุบัน
             1.ประชากร
             2.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             3.สภาพการณ์ในชุมชนนานาชาติ
             4.การวิจัยและการพัฒนา
             5.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             6.การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
             7.การศึกษา
             8.ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
             ในการแก้ปัญหาของสภาพสังคมไทยปัจจุบันนั้น ต้องเริ่มจากการแก้ปัญหาจากต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุ ซึ่งในการจะดำเนินการนั้นมันยากที่จะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึงเราต้องมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 
             1. แก้ปัญหาแบบระยะสั้น หรือแบบย่อย เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน  
             2. แก้ปัญหาแบบระยะยาว หรือแบบรวม เพื่อหามาตราการมิให้เกิดปัญหานั้นอีก 

2. จงอธิบายทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ตามที่ท่านมีภูมิรู้และเข้าใจ

   ตอบ  แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นการนำสาระของการปฎิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ และเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนพัฒนาด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเสร็จสมบูรณ์ และได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน

3. ท่านคิดว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" ได้อย่างไร

    ตอบ  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่คนไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม 

4. แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีเป้าหมายและ กรอบดำเนินการอย่างไร


    ตอบ เป้าหมาย
            1.เด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปีทุกคน ได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา
            2.เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับเก้าปี
            3.คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี
            4.มีกำลังคนด้านอาชีวศึกษาระดับต่างๆที่ีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ
            5.มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
            6.ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดในหลากหลายรูปแบบ
            7.มีการจัดบริการทางการศึกษานรูปแบบวิธีการต่างๆทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาของประชนทุกคน
           กรอบดำเนินการ
          1.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและการ เตรียมความพร้อมในรูปแบบที่หลากหลาย โดยเน้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง
          2.ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
          3.จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
          4. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนากำลังคนทุกระดับในภาคการผลิตและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ ความสามารถในทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
         5. ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความหลากหลาย และให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและตอบสนองความต้องการชุมชนท้องถิ่น
         6. จัดบริการการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษต่าง ๆ
         7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเฉพาะทาง
         8. ส่งเสริมมีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น

5. แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีเป้าหมายและกรอบดำเนินการอย่างไร

  ตอบ  เป้าหมาย
1. มีการบูรณาการด้านการศึกษา ศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งเนื้อหา กระบวนการ และกิจกรรมการเรียนรู้
2. บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่นทุกแห่งร่วมคิดและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
3. คนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
           กรอบดำเนินการ
1) ปฏิรูปโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรในทุก ระดับการศึกษาให้มีสาระของความรู้เกี่ยว กับความจริงของชีวิตและธรรมชาติ หลักธรรมของศาสนา คุณธรรม จริยธรรม
2) ส่งเสริมบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันดีงาม
3) บูรณาการการศึกษาและศาสนาเข้าด้วยกันโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ และคุณธรรม
4) ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยกระบวนการทางการศึกษาและฝึกอบรม

6. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทำได้อย่างไร

   ตอบ  การพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้นั้นทำได้โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้ทุกสถาบันในชุมชนมีส่วนร่วในการถ่ายทอดภูิปัญญาแลกเปลี่ยนความรู้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างความเข้มแข็งแห่งปัญญา

7. การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย  

ตอบ  การพัฒนา เพื่อให้คนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรืออยู่ดีมีสุข จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนา หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ โดยจะต้องทำการพัฒนาทั้งที่ "ตัวคน" อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนา รู้จักตัวเอง รู้เท่ากันโลก มีศักยภาพที่จะปรับ ตัวเองให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าตลอดทุกช่วง วัยของชีวิต ควบคู่กับพัฒนาสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวคน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การบริหารจัดการ ฯลฯ ให้เอื้อต่อการพัฒนาคน 
         การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
ประกอบด้วย แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน การสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และสังคม การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม เพื่อสร้างหลักประกันด้านต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถ ในระบบอำนวยความยุติธรรม และระบบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมให้วัฒนธรรม มีบทบาทในการพัฒนาคน และประเทศให้สมดุล และยั่งยืน 


8. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายและกรอบการดำเนินการอย่างไร

    ตอบ เป้าหมาย
    1. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง
    2. ประชาชนทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสามารถใช้เพิ่มพูนความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
           กรอบการดำเนินงาน
    1) ส่งเสริมหน่วยงานทุกระดับและสถานศึกษาทุกแห่งให้มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
    2) ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และ เพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
    3) ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้ และผู้ผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีจิตสำนึก จรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ และผลิต สื่อเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ
    4) พัฒนาผู้รับและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเลือกสรร กลั่นกรอง และใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ

9. แนวทางการบริหารเพื่อนำสู่แผนการปฏิบัติ มีอะไรบ้าง

   ตอบ  1.จัดเตรียมและพัฒนากลไลการนำแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ 
            2.จัดทำกรอบและแนวปฏิบัติของแผน
            3.ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ
            4.พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลแผน
            5. การประเมินผลแผน

10. การประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาติ มีขั้นตอน และกระบวนการประเมินอย่างไร

   ตอบ  ขั้นเตรียมความพร้อม ได้แก่ การประเมินความรู้ความเข้าใจสาระของแผน ความพร้อมขององค์กรและกลไกตามโครงสร้างการบริหารของแผน ระบบและกลไกการประสานงาน เป็นต้น
            ขั้นประเมินกระบวนการปฏิบัติ ได้แก่ กระบวนการจัดทำกรอบแนวทางของแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ กระบวนการนำแผนสู่การปฏิบัติในทุกขั้นตอน 
            ขั้นประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลประโยชน์ ที่เกิดกับประชาชนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย เจตนารมย์เพียงใด

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

อนุทินที่ 6

สรุปเนื้อหา กลุ่มที่ 5 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


























อนุทินที่ 5

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง

1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
เหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16  เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ  จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา  เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2. ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง
บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข. เด็ก
เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค. การศึกษาภาคบังคับ
การศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3. กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็ก เข้าเรียน
กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งมีความผิดตามาตรา 6
ถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
๑. ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง (ตามมาตรา ๙) จากเดิมมี ๒ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีการเพิ่มอีก ๑ ส่วนราชการได้แก่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ  สำหรับการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลาง  (ตามมาตรา ๑๐)  กำหนดให้เป็นกรมหรือให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมี ๓ ส่วนราชการได้แก่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
๒. ร่างมาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ โดยกำหนดให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  (ตามมาตรา ๒๒)  
๓. ร่างมาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ตามมาตรา ๒๓ (๒) (๓)  ซึ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องอยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๔.  ร่างมาตรา ๖ ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม โดยเพิ่มส่วนที่ ๔ ได้แก่ มาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ เพื่อรองรับการทำหน้าที่ของส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งการปกครอง การบังคับบัญชาของอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าอธิบดีในการบริหารราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมรวมตลอดถึงผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
๕. ร่างมาตรา ๗ ถึงมาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (ตามมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
๖. ร่างมาตรา ๑๐ ถึงมาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาราชการแทนของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑  มาตรา ๕๑/๑  มาตรา  ๕๒ และมาตรา ๕๒/๑)  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไป
๗. กำหนดเป็นบทเฉพาะกาล เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการและรองรับส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ให้สามารถบริหารราชการต่อไปได้ซึ่งเกี่ยวกับ
 (๑) การโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ภาระผูกพันข้าราชการ  ลูกจ้าง  พนักงานราชการ  เงินงบประมาณ  เงินนอกงบประมาณและอัตรากำลังเฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ตามมาตรา ๑๕ ถึงมาตรา ๑๗)
 (๒) การโอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง ไปเป็นของ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.พ.สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนแล้วแต่กรณี   (ตามมาตรา ๑๘   ถึงมาตรา ๒๐)
 (๓) การโอนอำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เฉพาะส่วนไปเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  (ตามมาตรา ๒๑)
 (๔) การปฏิบัติหน้าที่บริหารงานบุคคลเป็นการชั่วคราวของ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง และ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวง   (ตามมาตรา  ๒๒ และมาตรา  ๒๓)
                            (๕) การรักษาการตามพระราชบัญญัติของรัฐมนตรี  (ตามมาตรา ๒๔)